วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถานที่สักการะบูชาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ




 
 พระพรหมเอราวัณ
 
ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ พระพรหมเป็นผู้สร้างในทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น โลก สวรรค์ และมนุษย์ พระพรหมเป็น1ใน 3 ของพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวกับมนุษย์ โดยมีความเชื่อที่ว่าพระพรหมเป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่จะคอยรับฟังคำอธิษฐานของผู้ศรัทธาอยู่เบื้องบน ถ้าผู้ไหนทำดีพระพรหมก็บันดาลพรให้สมความปราถนา และในวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็นวันเกิดพระพรหมเอราวัณ ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงที่หน้าโรงแรมเอราวัณ และในวันนั้นจะมีผู้ศรัทธาทั้งไทยและเทศมาร่วมพิธีกันอย่างหนาตา
ขอพร: เรื่องของการเรียน การงาน ค้าขาย พระพรหมเอราวัณยังเลื่องชื่อในด้านของธุรกิจ ขนาดชาวฮ่องกง จีน สิงคโปร์ ยังบินมาไหว้สักการะบูชากันเลย         
สิ่งสักการะ :  ธูป 12 ดอก, เทียน 1 เล่ม, พวงมาลัยดาวเรือง 4 พวง จะไหว้ทั้ง 4 ด้านเนื่องจากพระพรหมมี 4 หน้า
แก้บน : ละครรำ ใช้นางรำ 4 หรือ 8 คน  หรือจะเป็นช้างไม้ เพราะมีความเชื่อว่าช้างเอราวัณเป็นช้างของท่านท้าวมหาพรหม
Guide: หน้าโรงแรมแกรนด์ไอแอท เอราวัณ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.30 น.


หลวงพ่อโสธรหรือหลวงพ่อพระพุทธโสธร
 
ประดิษฐานอยู่ที่
วัดโสธรวรารามวรวิหารเป็นพระพุทธรูปที่อยู่คู่กับเมืองแปดริ้วมาช้านาน มีชื่อเสียงในด้านการบนบานศาลกล่าวในเรื่องของการขอบุตร แต่ต้องระมัดระวังในการขอข้อนี้ให้ดีๆ ต้องขอให้บุตรอยู่ในโอวาท ตักเตือนและตีได้  ไม่เช่นนั้นเวลาเราไปตีลูกเรา ลูกจะเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุตามความเชื่อของโบราณ  ส่วนเรื่องที่ใครๆมาขอแล้วกลับไม่ได้ตามที่ตั้งใจอธิษฐานไว้ ก็คงจะเป็นเรื่อง ขออย่าให้ถูกเลือกเป็น ทหาร ด้วยเถิด!! เป็นที่รู้กันดีของคนแปดริ้วถ้าใครมาขอพรนี้ทีไรมักจะเป็นตรงกันข้ามเสมอ ต้องจับได้ใบแดงทุกทีไป เพราะหลวงพ่อจะโกรธเอามากๆ หลวงพ่อชอบให้คนได้เป็นทหารได้ช่วยดูแลปกป้องบ้านเมือง
ขอพร: การขอบุตร  โชคลาภ โรคภัยไข้เจ็บ การเดินทาง
สิ่งสักการะ : ธูป 16 ดอก เทียน 1 เล่ม และพวงมาลัย
แก้บน
: ส่วนมากเค้าจะบนด้วยไข่ต้ม ผลไม้ ละครชาตรีหรือลิเก
 
Guide : อยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ถ.มรุพงษ์ อ.เมือง  จ. 7.00-16.30น. / ส.-อา. 7.00-17.00น.




 พระบรมรูปทรงม้า 


เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งขึ้นเมื่อสมัยที่ท่านยังทรงอยู่ คนไทยส่วนใหญ่จะเรียกท่านว่า "เสด็จพ่อ ร.5" และคนทั่วไปมีความเชื่อว่าการขอพรที่นี่ห้ามเรียกว่าการบนบานต้องเรียกว่าการขอพรจากท่าน มิฉะนั้นสิ่งที่อธิษฐานขอพรไปจะไม่บังเกิดผล
ขอพร : การเรียน ด้านทหาร ตำรวจ มีโชคลาภในการประกอบอาชีพ
สิ่งสักการะ :  จุดธูป 16 ดอก (ครั้งแรกจุดธูป 16 ดอก ครั้งต่อไป 9 ดอก) ดอกกุหลาบสีชมพู น้ำมะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำว้า ทองหยิบ  ทองหยอด บรั่นดี  ซิการ์ ข้าวคลุกกะปิ คนส่วนใหญ่มักจะไปสักการะบูชาท่านทุกวันอังคารเพราะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ และทุกวันพฤหัสบดีถือว่าเป็นวันครู แก้บน : ตามที่บนไว้ ส่วนใหญ่มักจะใช้กุหลาบสีชมพู
Guide : หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม เขต.ดุสิต จ.กทม. ตลอด 24 ชม.



พระตรีมูรติ 


เทพมูรติเป็นรูปหนึ่งของพระวิษณุ(นารายณ์)ที่รวมเทพทั้งสามไว้ในพระองค์ มีพระเศียร 3 เศียร แทนพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ เป็นการรวมพลังของเทพทั้ง3ไว้ในร่างเดียว ได้แก่ การสร้างโลกเป็นพลังของพระพรหม การรักษาโลกเป็นพลังของพระวิษณุ และการทำลายโลกเป็นพลังของพระอิศวร(พระศิวะ) ซึ่งการรวมตัวกันของพลังทั้งสามคือการแสดงออกของพลังอันยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้าในสรรพสิ่ง หากมองตามความหมายทางธรรมก็หมายถึงการสร้าง ดำรงอยู่ และแตกสลายไป ทั้งนี้เทพมูรติได้รับการเทิดทูนจนกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการประทานความรักและความสมหวังไปในที่สุด
ขอพร : สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ อำนาจ อาชีพการงาน เทพเจ้าแห่งความรักที่ช่วยดลบรรดาลพรให้กับหนุ่มสาวที่มาวิงวอนขอพรความรักจากท่านให้สมหวังในความรัก เป็นผู้ปรารถนาความสำเร็จสมหวังในทุกสิ่งทุกอย่าง ความรัก  ความเมตต ชีวิต การงาน

สิ่งสักการะ :  ธูปแดง 9 ดอก ,  เทียนแดง 1คู่ (ถ้าคนที่มีคู่ให้เทียบวางติดคู่กัน)  ดอกกุหลาบแดง  9 ดอก  ผลไม้สีแดง  น้ำอ้อย  และนมสด  (ห้ามถวายอาหารคาวเด็ดขาด) เวลาที่ดีที่สุด คือ วันพฤหัสบดี เวลา 21.30-22.00น. เชื่อกันว่าพระตรีมูรติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อรับคำวิงวอน
แก้บน : น้ำเปล่า   ผลไม้   กุหลาบแดง   พวงมาลัยกุหลาบ   ช้าง  สุนัข  และโค 
Guide:หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ถนนราชประสงค์ จ.กทม.  9.00-21.30 น. 

  

พระแม่มหาอุมาเทวี


 เป็นเทพองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู ชื่อเต็มๆเรียกว่า องค์พระแม่ศรีมหามารีอัมมันทรงเป็นมารดาของพระพิฆเนศและเป็นชายาของพระศิวะ พระแม่อุมาเป็นเทพแห่งความเมตตากรุณา และงามสง่า และในทุกปีจะมีพิธีบวงสรวงพระแม่อุมาเทวีครั้งยิ่งใหญ่ ขึ้นช่วง 1-9 ค่ำเดือน 11 ประมาณช่วงเดือนตุลาคม รวม 10 วัน 10 คืน พร้อมกันทั่วโลก จะเรียกพิธีนี้ว่า "นวราตรี"  ในวันสุดท้ายของการจัดงานจะมีพิธีแห่องค์เทวรูปพระแม่อุมาเทวีและเทพองค์อื่นๆทั่วทั้งสีมลมอีกด้วย
ขอพร: สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ อำนาจ อาชีพการงาน
สิ่งสักการะ :  พวงมาลัยดาวเรือง หรือดอกกล้วยไม้ ดอกกุหลาบ  มะพร้าวอ่อน  และกล้วยน้ำว้า เครื่องมังสวิรัติ
แก้บน : ตามที่บนไว้ และการทานมังสวิรัต
Guide : วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ถนนปั้น บางรัก จ.กทม. เวลา 06.00 - 20.00 น.

 
พระพิฆเนศวร

หรือ พระพิฆเนศ หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระวิฆเณศวร หรือ พระพิฆเณศ หรือ พระคเณศ หรือ คณปติ เป็นโอรสของพระศิวะและพระนางปารวตี ถือกันว่าเป็นปฐมเทพที่จะได้รับการบูชาก่อนเริ่มพิธีกรรมต่างๆเนื่องจากได้รับพรจากศิวเทพเพราะความเฉลียวฉลาดเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้  ผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง ทั้งยังทรงมีพระวรกายที่แตกต่างจากเทพอื่นๆทั้งหมดเพราะว่ามีพระวรกายเป็นมนุษย์แต่มีพระพักตร์เป็นคชสาร
ขอพร: เกี่ยวกับศิลปะแขนงต่างๆ ความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค
สิ่งสักการะ: พวงมาลัยดาวเรือง น้ำสะอาด นม น้ำมะพร้าว  ห้ามใชทุกชนิด (สามารถใช้ขนมที่มีส่วนผสมของไข่ได้บ้าง แต่ถ้าเลือกได้ก็ควรเลี่ยง) ถวายผลไม้ที่สุกแล้วเป็นหลัก อ้อย กล้วยสุก มะพร้าว นมวัว ขนมโมทกะ (หรือ ขนมต้มแดง ต้มขาว ของไทย) หรือขนมหวานลาดูป (ชาวอินเดียนิยมถวาย) ตลอดจนข้าวสาร เกลือ พืช ผัก งา สมุนไพร ธัญพืชและเครื่องเทศทุกชนิด ก็สามารถใช้ถวายได้
Guide:หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ถนนราชประสงค์ จ.กทม.  9.00-21.30 น./ วัดแขก ถนนปั้น สีลม 
   
                                                       
 กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

                หรือที่รู้จักกันในนามของ เสด็จเตี่ย ในวันที่ 19 ธันวาคมของทุกปีจะมีการจัดงานบวงสรวงระลึกถึงกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  ผู้คนที่เคารพนับถือจะไปสักการะบูชาตาม
อนุสาวรีย์และศาลของเสด็จเตี่ย
ขอพร: ส่วนใหญ่คนจะไปขอเรื่องการเรียน การเดินทางความปลอดภัย และความสุขสมหวังต่างๆ 
สิ่งสักการะ :  ธูป 9 ดอก /19 ดอก, เทียน 1 คู่ , ดอกกุหลาบสีแดงเท่ากับจำนวนธูปที่เราไหว้ หรือพวงมาลัยที่มีกลิ่น
วิธีแก้บน
: ตามสิ่งตนเองบนไว้ หรือประทัด หมากพลู บุหรี่ เหล้าโรง 28 ดีกรี ถ้าเป็นอาหารก็จำพวก ทองหยอด กาแฟดำ ปลาช่อนแป๊ะซะ แต่ห้ามถวายพะแนงเนื้อเด็ดขาด เพราะเสด็จเตี่ยไม่โปรด
Guide :  หน้าวิทยาเขตพณิชยการพระนคร ถ.พิษณุโลก เขต ดุสิต จ.กทม.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น